บัว
ชื่ออื่น บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นพรรณไม้น้ำ มีก้านแข็ง ผิวเป็นหนามคมเล็กๆ ตลอดลำใบ
ใบ กลมมีขนาดใหญ่ ใบตั้งมีก้านยาวชูขึ้นพ้นผิวน้ำ ผิวใบเรียบมีสีนวลเครือบตลอดหน้าใบ ขอบใบเรียบ มีสีเขียวตลอดทั้งใบ ก้านใบแข็ง
ดอก กลีบดอกชั้นนอกซ้อนกันหลายชั้นดอกมีทั้งสีชมพูอมม่วง และสีขาว ภายในดอกมีรูปร่างคล้ายกรวย มีเมล็ดฝันอยู่ภายใน และจะเติบโตเป็นผล ที่เรียกกันว่าฝักบัว
ราก รากหยั่งลงไปในดินลึก
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ไหลบัว ต้มกะทิ เป็นผักจิ้มน้ำพริก ผัด หรือแกงส้ม
คุณค่าทางโภชนาการ รากบัวมีแคลเซียม วิตามินซีและอื่นๆ เกสรตัวผู้มีกลิ่นหอม เมล็ดบัวมีแคลเซียมสูง มีโปรตีน มีเหล็ก แป้ง วิตามินซี และอื่นๆ ดีบัว มีอัลคาลอยด์หลายชนิด
ใช้เป็นยา เกสร ปรุงเป็นยาหอม ทำให้ชื่นใจ และเป็นยาชูกำลัง ราก รสหวานและมีกลิ่นหอม ให้เด็กกินระงับอาการท้องร่วงหรือธาตุไม่ปกติและเป็นอาหารได้ เหง้าและเมล็ด รสหวานมันเล็กน้อย เป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ รักษาดี รักษาเสมหะ อาการพุพอง เมล็ด จะมี embryo มีสีเขียว เรียกว่า ดีบัว ซึ่งมีรสจัดซึ่งมีสารอัลคาลอยด์ หลายชนิดมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของหัวใจ


น้ำรากบัว
ส่วนผสม
รากบัว ถ้วย
น้ำสะอาด                     ถ้วย
น้ำตาลทราย ๑/๓ ถ้วย
วิธีทำ
นำรากบัวที่ล้างสะอาด ฝานเป็นชิ้นบางๆ นำไปต้มกับน้ำ แล้วคั่วจนกระทั่งได้น้ำเป็นสีชมพูกรองเอากากออก เติมน้ำตาลทราย ตั้งไฟให้เดือด ชิมรส ใส่ขวดนึ่ง ๒๐-๓๐ นาที พอเย็นเก็บใส่ตู้เย็น จะได้น้ำรากบัวสีชมพู รสหวานเย็น ดื่มแก้กระหายน้ำ